20 ก.ย. 2567

Why regular breathing is important in 4D-CT?

ทำไมผู้ป่วยต้องหายใจให้สม่ำเสมอขณะจำลองการรักษาด้วยเอกเซเรย์คอมพิวเตอร์4มิติหรือ 4D-CT simulation

 

เอกซเรย์คอมพิวเตอร์4มิติ คือการใช้ข้อมูลภาพเอกซเรย์3มิติร่วมกับสัญญาณการหายใจของผู้ป่วย เพื่อนำไปสร้างภาพของก้อนมะเร็งและอวัยวะอื่นๆให้สัมพันธ์กับแต่ละช่วงของการหายใจเพื่อให้แพทย์สามารถทราบและกำหนดขอบเขตเพื่อประเมินการเคลื่อนไหวของก้อนมะเร็งในขณะทำการฉายรังสีได้อย่างถูกต้อง โดยส่วนใหญ่ทำในบริเวณช่องอกและช่องท้องโดยปกติการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์4มิติมักเกิดสิ่งแปลกปลอมขึ้นบนภาพ ยกตัวอย่างเช่น ภาพเบลอ เห็นภาพของอวัยวะแบางเป็นชั้นๆ ซึ่งส่งผลให้แพทย์กำหนดขอบเขตการฉายรังสีรวมถึงการคำนวณปริมาณรังสีผิดไป โดยมีสาเหตุดังนี้

 

1.จากซอฟแวร์ของอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจจับการเคลื่อนไหวของผนังหน้าอกด้านนอก

2.วิธีการตั้งค่า เก็บข้อมูลและวิธีการสร้างภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์4มิติ

3.การบีบและคลายตัวของหัวใจ

4.การหายใจของผู้ป่วยที่ไม่สม่ำเสมอ

 

ซึ่งสาเหตุในข้อและสามารถแก้ไขได้จากการตั้งค่าการเก็บข้อมูลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมส่วนสาเหตุข้อ3นั้นไม่สามารถแก้ไขได้เนื่องจากไม่สามารถควบคุมได้ ส่วนสาเหตุที่เกิดจากการที่ผู้ป่วยหายใจไม่สม่ำเสมอถือได้ว่าเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสิ่งแปลกปลอมบนภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์4มิติเนื่องจากอวัยวะที่อยู่ในช่องอกและช่องท้องมีการเคลื่อนไหวตามการหายใจ ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยขอความร่วมมือให้ผู้ป่วยหายใจเข้า-ออกอย่างสม่ำเสมอ ไม่ช้าและไม่เร็วเกินไป

ตลอดการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งการหายใจที่ดีต้องหายใจได้อย่างน้อย 10ครั้งต่อนาที และอัตราเร็วในแต่ละช่วงการหายใจขณะที่เก็บข้อมูลภาพควรมีค่าสม่ำเสมอต่างกันไม่เกิน5วินาทีต่อ1รอบการหายใจก็จะสามารถช่วยลดสิ่งแปลกปลอมในภาพได้ โดยจะมีนักรังสีคอยช่วยควบคุมการหายใจ

 


ข่าวประชาสัมพันธ์