ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

เวลาฉายรังสี....ทำไมแต่ละคนถึงใช้อุปกรณ์ไม่เหมือนกัน

ผู้ป่วยหรือญาติมักจะสังเกตเห็นว่าอุปกรณ์ที่แต่ละคนใช้มีหลากหลายรูปแบบมาก

บางคนมีโครงพลาสติกครอบหน้าเวลาฉายรังสี มีหลายสี สั้นบ้างยาวบ้าง บางคนพอเข้าไปในห้องฉายก็มีที่ให้จับ แล้วหลังจากนั้นก็จะมีเสียงเจ้าหน้าที่คอยบอกว่า “คนไข้กำ(อุปกรณ์)เสร็จแล้วเหยียดขานะครับ/นะคะ เหยียดขาตึงๆ ไม่ปล่อยมือ…” บางคนก็ได้นอนบนถุงพลาสติกแข็ง บางคนก็ต้องนอนบนอุปกรณ์ที่เป็นแผ่นเอียงแข็งเหมือนมีอะไรทิ่มหลังตลอดเวลา

 

อุปกรณ์หน้าตาประหลาด พอใช้ก็ชวนให้เมื่อย แถมเตียงก็แคบและแข็ง ผู้ป่วยหลายๆคน อาจจะมีคำถามคือขอเตียงหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้นอนได้สบายกว่านี้ได้มั้ย

คำตอบคือ ไม่ได้ครับ ไม่ว่าจะเตียงนุ่ม นุ่มมากนุ่มน้อยก็ไม่ได้ แม้แต่หมอนที่พกไปจากบ้านก็ใช้ไม่ได้ ถามว่าทำไม?

เรื่องที่ต้องคำนึงอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องในการจัดท่าผู้ป่วย คือ “ผู้ป่วยต้องนอนอยู่ในท่าเดิมได้ทุกครั้งที่ทำการรักษา

 

ดังนั้น อุปกรณ์รองนอนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับที่ “พอนอนได้” เท่านั้น บางทีก็เป็นพื้นแข็งไปเลย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถนอนได้ในท่าเดียวกันทุกวัน อุปกรณ์บางชิ้นทำหน้าที่ช่วยจัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่าเดียวกัน บางชิ้นก็ช่วยให้ผู้ป่วยอยู่นิ่งที่สุดในระหว่างฉายรังสี

 

A mask painted on a surface

Description automatically generated with medium confidenceA white plastic head with a mesh over it

Description automatically generated with medium confidenceหลักการพิจารณาว่า ผู้ป่วยคนไหนจะใช้อุปกรณ์ชนิดไหน ขึ้นกับขนาดและตำแหน่งของรอยโรค เทคนิคการฉาย รวมถึงสภาพของผู้ป่วยด้วย



 

ยกตัวอย่าง เช่น โครงพลาสติกที่กล่าวถึงตอนต้น ที่เรียกว่า thermoplastic mask หรือหน้ากาก สามารถแบ่งได้เป็น แบบใหญ่ๆ คือ แบบสั้นและแบบยาว โดยแบบสั้นจะคลุมเฉพาะส่วนหัวของผู้ป่วย โดยหน้ากากจะช่วยให้ศีรษะของผู้ป่วยอยู่นิ่งระหว่างฉายรังสี มักใช้สำหรับผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณสมอง ส่วนแบบยาว หน้ากากจะยาวลงมาคลุมถึงส่วนอก โดยจะมีหน้าที่ทำให้หัวไหล่และหน้าอกอยู่กับที่ในระหว่างฉายรังสี เนื่องจากพื้นที่ฉายรังสีจะมีส่วนคอด้านล่างที่ติดกับหัวไหล่ นั่นหมายความว่า ถ้าผู้ป่วยยกหัวไหล่ขึ้น ก็จะมีโอกาสที่หัวไหล่จะเข้าไปบังในส่วนพื้นที่ฉายรังสี หน้ากากแบบยาวมักใช้สำหรับผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณศีรษะและลำคอ

A machine in a room

Description automatically generated

 

 

 

 อุปกรณ์ชิ้นนี้ น่าจะดูแปลกตานี้เรียกว่า Breast board ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณเต้านมและใกล้เคียง ส่วนที่น่าสนใจคือ พื้นลาดเอียงที่ผู้ป่วยต้องนอนลงไปและส่วนประคองแขน เพราะว่าหากวางแขนไว้ข้างตัว แขนจะได้รับรังสีไปด้วย จึงให้ผู้ป่วยยกแขนขึ้นเพื่อหลบรังสีที่ส่วนเกินที่ไม่จำเป็น

 

 

 

 อุปกรณ์ชนิดนี้เรียกว่า Vacuum lock มักใช้สำหรับรองร่างกายผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นลำตัว หรือ สะโพก เพื่อยึดตรึงในการฉายรังสีบริเวณดังกล่าว โดยภายในจะมีเม็ดโฟมเล็กๆ หลายๆ เม็ดและเมื่อดูดจมลมออกจนเป็นภาวะสุญญากาศ อุปกรณ์นี้จะแข็งและเป็นร่องหรือแนวตามอวัยวะผู้ป่วยได้

A machine with a few white objects

Description automatically generated with medium confidence

อุปกรณ์ที่หน้าตาคล้ายเครื่องออกกำลังนี้เรียกว่า CombiFix ประกอบไปด้วยส่วนที่รองข้อเข่า (Knee support) และ ส่วนรองเท้า (Foot lock) มักใช้กับผู้ป่วยที่ฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน เพื่อไม่ให้สะโพกและขาขยับขณะทำการฉายรังสี

 

อุปกรณ์ที่ใช้งานทางด้านรังสีรักษามีหลายชิ้น อุปกรณ์บางชิ้นใช้กับผู้ป่วยโดยตรง บางชิ้นใช้กับผู้ป่วยทางอ้อม เช่น จับสัญญาณการหายใจของผู้ป่วยระหว่างฉายรังสี ใช้ทำภาพเอกซเรย์ก่อนและระหว่างฉายรังสี

 

ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์จึงพิจารณาจากเหตุผลที่ได้กล่าวไปข้างต้น คือ การจัดท่าและการทำให้ผู้ป่วยสามารถนอนนิ่งระหว่างฉายรังสีให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะส่งผลไปถึงเรื่องการให้รังสีไปยังเป้าหมายได้อย่างแม่นยำและเพิ่มประสิทธิภาพใ

ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง