ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง

มะเร็งปากมดลูก

 มะเร็งปากมดลูก

            ปากมดลูกเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณส่วนปลายของมดลูกเชื่อมต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยในประเทศที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย โดยจากสถิติทะเบียนมะเร็งของสถาบันมะเร็งแห่งชาติปี พ..2563 พบว่า ในประเทศไทยมะเร็งปากมดลูกพบได้บ่อยเป็นอันดับ รองจากมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ 


ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูก

1.การเริ่มมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย

2.การมีคู่นอนหลายคน

3.การมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ รวมด้วย

4.การมีบุตรหลายคน

5.การสูบบุหรี่

6.ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

7.พันธุกรรม


สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก

            มะเร็งปากมดลูกส่วนใหญ่ประมาณ 70%  เกิดจากการติดเชื้อไวรัส  Human papilloma virus (HPV) ซึ่งสายพันธุ์ก่อโรคที่พบได้บ่อย ได้แก่ HPV type 16 และ18 นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์ก่อโรคอื่นๆที่พบได้ เช่น  HPV type 31, 33 และ 35 อย่างไรก็ตามในปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะลดลง เนื่องจากการป้องกันระดับปฐมภูมิ คือ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และการป้องกันระดับทุตยภูมิ คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 


การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ตามแนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 มีความเห็นว่าควรให้วัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชพีวีในผู้หญิงและผู้ชาย ในช่วงอายุ 9-26 ปี โดยกลุ่มเป้าหมายหลัก ที่แนะนาให้ฉีดวัคซีน คือ เด็กหญิงอายุ 11-12 ปี สาหรับการฉีดวัคซีนป้องกัน การติดเชื้อเอชพวีในผู้หญิงอายุ 27-55 ปี หรือผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้วขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นราย ๆ ไป สำหรับผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี ให้ฉีดจำนวน  เข็ม ห่างกัน  6-12 เดือน แต่หากฉีดในผู้มีอายุ15 ปีขึ้นไป แนะนำให้ฉีดเพิ่มอีก เข็ม และควรฉีดทั้ง เข็มให้เสร็จสิ้นก่อนอายุ 26 ปี ถ้าจะฉีดวัคซีนก่อนตั้งครรภ์ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 เดือนหลังจากฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม  โดยวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่มีในประเทศไทยมีทั้งชนิดป้องกัน 2สายพันธุ์, 4 สายพันธุ์ และ สายพันธุ์ 


การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

ตามแนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2563 มีคำแนะนำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกดังนี้




อาการของมะเร็งปากมดลูก

1.เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์

2.ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือ ออกผิดปกติไม่ตรงรอบเดือน

3.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหลังหมดประจำเดือน

4.เลือดออกกระปิดกระปอยเรื้อรัง

5.ตกขาวกลิ่นเหม็น

6.หากมีระยะของโรคลุกลาม อาจมีภาวะปัสสาวะบ่อยหรือแสบขัด ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด ปวดหน่วงท้องน้อย ปวดเชิงกราน ปวดหลัง ขาบวมได้

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจวินิจฉัยได้จากการตรวจทางพยาธิวิทยาจากชิ้นเนื้อที่ได้รับการตัดจากบริเวณก้อนเนื้อที่ปากมดลูก แต่หากตรวจพบจากความผิดปกติทางเซลล์วิทยาหรือ PAP smear อาจต้องมีการตรวจหาความผิดปกติของรอยโรคเพิ่มเติม คือ การตรวจด้วยกล้อง Colposcopy หากพบจุดที่ผิดปกติแพทย์จะพิจารณาตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจเพิ่มเติมต่อไป การตรวจเพิ่มเติมอื่นๆที่ ช่วยในการแบ่งระยะของโรค ได้แก่ การส่องกล้องในกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy)  เพื่อประเมินการลุกลามเข้ากระเพาะปัสสาวะ การทำ CT scan หรือ MRI ของช่องท้องและอุ้งเชิงกราน เพื่อประเมินขนาดและการลุกลามของก้อนมะเร็ง รวมถึงการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและตับ การทำเอกซเรย์ปอด เพื่อประเมินว่ามีการแพร่กระจายไปยังปอดหรือไม่


การรักษา

·      ระยะเริ่มต้น  (Stage IA1-IB2, IIA1)

ในระยะนี้เนื่องจากก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กและอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ การรักษาหลักคือ การผ่าตัด โดยหากก้อนมีขนาดเล็กมาก แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดเฉพาะปากมดลูก(Trachelectomy) แต่หากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจพิจารณาผ่าตัดทั้งมดลูกรวมถึงเนื้อเยื่อข้างเคียงและเลาะต่อมน้ำเหลือง (Radical hysterectomy with lymph node dissection)นอกจากนี้หากผลพยาธิวิทยาจากการผ่าตัดพบว่ามีความเสี่ยงที่จะมีการกลับเป็นซ้ำ อาจต้องตามด้วยการฉายรังสีและ/หรือยาเคมีบำบัดตามหลังการผ่าตัด


·      ระยะลุกลามเฉพาะที่  (Stage IB3,IIA2-IVA)

ในระยะนี้การรักษาหลักคือ การฉายรังสีจากภายนอก (External Beam Radiation) ร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด (Concurrent chemoradiation) และการใส่แร่ (Brachytherapy) การฉายรังสีจากภายนอก คือ การให้รังสีไปยังก้อนมะเร็ง โดยใช้รังสีพลังงานสูงฉายไปยังตำแหน่งของก้อนมะเร็งเพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกาย โดยรังสีดังกล่าวจะกำเนิดจากเครื่องฉายรังสีหรือที่เรียกว่าเครื่องเร่งอนุภาค (Linear accelerator) ซึ่งในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องฉายรังสีด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดเครื่องฉายรังสีหลากหลายรูปแบบ ร่วมกับมีการพัฒนาเทคนิคการฉายรังสีที่ทันสมัย เช่น รังสีสามมิติ และรังสีสามมิติแปรความเข้ม โดยส่วนใหญ่จำนวนครั้งในการฉายรังสีของโรคมะเร็งปากมดลูกจะอยู่ที่ประมาณ  25-30 ครั้ง โดยจะมีการให้ยาเคมีบำบัดสัปดาห์ละ  1 ครั้ง และช่วงท้ายของการฉายรังสีจะมีการใส่แร่ประมาณ  ครั้ง โดยการใส่แร่ คือ การใส่อุปกรณ์เข้าไปทางช่องคลอดเพื่อให้เม็ดแร่เดินทางเข้าไปทำการรักษา หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการรักษาเม็ดแร่จะถูกเก็บเข้าเครื่อง และแพทย์ทำการถอดอุปกรณ์ออก ผู้ป่วยสามารถเดินทางกลับบ้านได้โดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล


·      ระยะแพร่กระจาย (Stage IVB)

ในระยะนี้ตัวโรคจะมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มะเร็งปากมดลูกมักแพร่กระจายไปที่ ปอด ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ตับ และกระดูก ผู้ป่วยอาจะมีอาการตามอวัยวะต่างๆ ที่กระจายไป รวมถึงอาการของก้อนที่ปากมดลูกอาจทำให้มีอาการปวด เลือดออกอย่างรุนแรง รวมถึงกดเบียดอวัยวะข้างเคียง เช่น กระเพาะปัสสาวะ และ ลำไส้ตรงได้ วิธีการในการรักษาอาจใช้การฉายรังสีเพื่อบรรเทาอาการ  (Palliative Radiation) หรือการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อบรรเทาอาการ  (Palliative chemotherapy)

 

เอกสารอ้างอิง

1. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การป้องกันมะเร็งปากมดลูกปฐมภูมิ คณะอนุกรรมการมะเร็งวิทยานรีเวช พ.ศ. 2562-2564

2. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก คณะอนุกรรมการมะเร็งวิทยานรีเวช พ.ศ. 2562-2564

 

 

นายแพทย์วิวรรธน์ชัย  สิทธิวงศ์

สาขาวิชารังสีรักษา ภาควิชารังสีวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 

ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง